About

การเดินสายไฟด้วยท่อเดินสาย

การเดินสายไฟด้วยท่อเดินสาย
ชนิดของท่อโลหะ
แม้ว่าท่อเดินสายไฟฟ้ามีอยู่มากมายหลายแบบด้วยกัน แต่ที่นิยมใช้กันมากในการเดินสายไฟฟ้าภายในบ้านมีอยู่ 3 ชนิด คือ ท่อบาง (Electrical metallic tubing หรือ EMT) ท่อหนา (rigid metal conduit) และท่ออ่อน (flexible metal conduit) ดูรูปที่ 112

                      
ท่อหนา                 ท่ออีเอ็มที                    ท่ออ่อน
รูปที่ 112 ท่อโลหะที่นิยมใช้ในการเดินสายไฟ

           ท่อโลหะเดินสายชนิดท่อบาง ท่อโลหะชนิดนี้มักเรียกชื่อย่อว่า อีเอ็มที (EMT) เป็นท่อที่มีน้ำหนักเบา ความหนาของท่อชนิดนี้จะประมาณ 40% ของท่อชนิดหนา เนื่องจากท่ออีเอ็มทีมีน้ำหนักเบาและง่ายต่อการดัดโค้ง จึงนิยมใช้ในการเดินสายไฟในบ้านที่อยู่อาศัย (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากเรื่อง การติดตั้งท่ออีเอ็มที หัวข้อที่ 348 ของ NEC

            ท่อโลหะเดินสายชนิดท่อหนาท่อชนิดนี้เป็นท่อที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้กับงานที่ต้องการ ความแข็งแรง มีเกลียวที่ปลายท่อสำหรับเชื่อมต่อท่อเข้าด้วยกันเช่นเดียวกันกับท่อมาตรฐาน ในบ้านที่อยู่อาศัย ท่อหนาจะใช้เฉพาะเป็นท่อสำหรับร้อยสายไฟจากมิเตอร์เข้าบ้าน ท่อชนิดนี้สามารถตัดให้ขาดด้วยเลื่อยตัดเหล็ก และยังสามารถทำเกลียวด้วยเครื่องมือทำเกลียวมาตรฐาน ซึ่งมีที่กัดเกลียวเป็นมุมเอียง ? นิ้วต่อฟุต

           ร้านขายอุปกรณ์เครื่องไฟฟ้าส่วนมากจะมีท่อโลหะแบบต่างๆ สำหรับเดินสายไฟด้วยความยาว ขนาดต่างๆ กัน และมีการทำเกลียวไว้พร้อมที่จะนำไปใช้ได้ทันที (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากเรื่อง การติดตั้งท่อโลหะชนิดหนา หัวข้อที่ 346 ของ NEC

           ท่อโลหะเดินสายไฟชนิดท่ออ่อน ท่อชนิดนี้มีลักษณะเหมือนเปลือกโลหะของสายเคเบิล ชนิดเปลือกโลหะ แต่ในการเดินสายไฟนั้น เราจะต้องติดตั้งระบบท่อให้เรียบร้อยก่อน แล้วจึงจะมีการร้อยสายไฟเข้าไปทีหลัง ปกติแล้วจะเดินสายไฟด้วยท่ออ่อนในบริเวณที่มีการสั่นสะเทือนหรือมีการเคลื่อนไหว เช่นเดินสายเข้ามอเตอร์ และนอกจากนี้อาจจะใช้ท่ออ่อนนี้เดินสายแทนท่อแบบอื่นๆ ในบริเวณที่ที่รัศมีการโค้งงอแคบมาก หรือโค้งงอได้ลำบาก (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากเรื่องการติดตั้งท่ออ่อน หัวข้อที่ 350 ของ NEC)
รูปที่ 113 เครื่องมือที่ใช้ในการต่อท่อ
เครื่องมือที่ใช้ในการเดินสายไฟภายในท่อโลหะ
      1. เครื่องมือตัดท่อ เป็นเครื่องมือที่ใช้ตัดท่อโลหะทั่วๆ ไป ตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึง
ขนาดใหญ่ ได้แก่ เลื่อยตัดเหล็ก ที่ตัดท่อ เครื่องตัดท่อและทำเกลียวท่อประปา
      2. อุปกรณ์ขจัดรอยแหลมคมของขอบท่อ ได้แก่ รีมเมอร์ ตะไบ คีม
      3. เครื่องมือตัดท่อ ใช้โค้งงอท่อเป็นมุมต่างๆ ได้
      4. เครื่องมือในการดึงสายร้อยท่อภายในท่อโลหะ เรียกว่าฟิชชิ่งเทป (fishing tape)
หรือ ถ้าไม่มีอาจจะใช้ลวดสลิงเส้นเล็กผูกเชือกนำเข้าไปในท่อก่อน แล้วจึงค่อยให้เชือกโผล่ในกล่องต่อสายที่ต้องการ ก็เอาเชือกนั้นผูกกับสายไฟที่จะร้อยเข้าไปในท่ออีกครั้ง
รูปที่ 114 เครื่องมือที่ใช้ในการขจัดรอยแหลมคมของขอบท่อ
รูปที่ 115 เครื่องมือดัดท่อ
การติดตั้งท่ออีเอ็มที
           การเลือกซื้อท่ออีเอ็มที ปกติท่ออีเอ็มทีจะขายเป็นมัด มัดละ 10 เส้น เส้นหนึ่งจะยาวประมาณ 3 เมตร ดังรูปที่ 116 ร้านขายเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้านั้นจะมีท่อเดินสายขนาดต่างๆ ชนิดต่างๆ ไว้จำหน่ายเป็นจำนวนมาก ขนาดของท่ออีเอ็มทีนี้มีตั้งแต่ขนาด ? นิ้วถึงขนาด 4 นิ้ว (ดูตารางที่ 2) ในรูปที่ 116 นั้นแสดงขนาดและจำนวนสายไฟฟ้าที่สามารถร้อยเข้าไปภายในท่อ (ดูรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนของสายไฟฟ้าในท่อและขนาดของท่อจาก NEC)
รูปที่ 116 ท่ออีเอ็มทีและท่อหนาจะขายเป็นมัด มัดละ 10 เส้น
ตารางที่ 2 ขนาดของท่ออีเอ็มทีที่มีขายอยู่ตามท้องตลาด
รูปที่ 117 ขนาดสายที่ใช้เดินภายในท่อขนาดต่างกัน


        การตัดท่ออีเอ็มที ท่ออีเอ็มทีสามารถใช้เลื่อยเหล็กตัดให้ขาดได้ (ดูรูปที่118) เมื่อตัดแล้วท่อจะปรากฏมีรอยตัดที่แหลมคม เศษโลหะโผล่ออกมาเต็มไปหมด จึงจำเป็นต้องมีการขจัดสิ่งเหล่านี้ออกไปด้วยการใช้เครื่องมอในรูปที่ 114
รูปที่ 118 การตัดท่ออีเอ็มทีด้วยเลื่อนตัดเหล็ก
           การดัดท่ออีเอ็มที การดัดท่อเดินสายไฟนี้จะต้องมีความระมัดระวังและใช้ความชำนาญอาศัยเทคนิค พร้อมเครื่องมือที่ใช้ในการดัดท่อให้โค้งงอเป็นไปในลักษณะต่างๆ
เครื่องดัดท่อแบบฮิคกี้ (conduit Hichey) เป็นเครื่องมือดัดท่อด้วยมือ (ดูรูปที่ 115 (ก) เครื่องดัดท่อชนิดนี้บางทีเรียกกันว่า ฮิคกี้ เครื่องมือนี้จะมีขอบผนังสูงพอที่จะยึดบังคับท่อไว้ป้องกันไม่ให้เกิดการกด ทับท่อให้แบนตัวลง หรือทำให้ท่อเกิดการบิดงอ และยังมีขอบที่โค้งยาวสำหรับการโค้งงอท่อเป็นมุม 90? โดยไม่ต้องขยับเลื่อนที่ดัดงอไปยังตำแหน่งใหม่
การดัดท่อเป็นมุม 45? มีหลักการทำดังนี้นำเครื่องมือดัดท่อเข้าไปคล้องจับท่อที่จะดัด แล้วก็เริ่มต้นเครื่องมือไปด้านที่เราต้องการจะงอนั้นจนกระทั่งด้ามมือจับนั้นตั้งฉากกับพื้น หรืออยู่ในแนวดิ่งก็เอาเครื่องมือออก เราก็จะได้ท่อที่งอไป 45? ตามต้องการ (ดูรูปที่119)

รูปที่ 119 การดัดท่อเป็นมุม 45o
การดัดท่อเป็นมุม 90o ท่อดัด 90o ใช้ในกรณีที่มีการเลี้ยวหักสายไฟเป็นมุมฉาก หรือกรณีท่อโผล่ขึ้นจากพื้นต่อวงจรไฟกับวงจรไฟวงจรอื่นๆ
รูปที่ 120 แสดงการวางท่อเพื่อดัดงอเป็นมุม 90o ตามระยะที่กะไว้ ให้สังเกตว่าระยะที่กะและทำเครื่องหมายไว้บนท่อนั้นจะต้องเป็นระยะที่รวมถึง ระยะที่เครื่องมือนั้นทาบไปชนท่อนั้นด้วย หากวางเครื่องมือไปชนท่อในระยะที่ถูกต้อง รอยโค้งงอที่เกิดขึ้นก็จะถูกต้องตามที่ต้องการด้วยสำหรับผู้เริ่มฝึกหัดควร ตรวจเช็คมุมที่เกิดขึ้นด้วยระดับน้ำ ดังในรูปที่ 121
รูปที่ 120 การดัดท่อเป็นมุม 90?
รูปที่ 121 ตรวจสอบท่อโค้งเป็นมุม 90? ด้วยระดับน้ำ
รูปที่ 122 การดัดท่อต้องจับยึดท่อให้แน่น
รูปที่ 123 การดัดท่อรูปตัวยู
                      การดัดท่อรูปตัวยู เป็นการดัดท่อเพื่อจะเดินสายไฟจากกล่องต่อสายหนึ่งไปยังอีกกล่อง หนึ่ง ซึ่งจำเป็นต้องดัดปลายท่อเดินสายไฟทั้งสองด้านให้เป็นมุม 90? เข้าหากันเป็นรูปตัวยู เราเรียกการดัดท่อแบบนี้ว่า การดัดท่อรูปตัวยู (back-to-back bends) ดังรูปที่ 123 นั้น ขั้นแรกจะทำการดัดท่อเป็นมุม 90? ดังแบบการดัดท่อตามรูปที่ 120 ที่ปลายท่อด้านหนึ่งก่อน ขั้นที่สองให้กะระยะระหว่างกล่องต่อสายทั้งสองลงบนท่อ ซึ่งเป็นระยะห่าง = D แล้ววางเครื่องมือดัดท่อลงบนท่อที่จะดัดในทิศทางกลับกัน และให้จุด A บนเครื่องมือดัดท่อนี้ตรงอยู่บนจุดระยะ D พอดี แล้วจึงโยกด้ามถือเครื่องมือไปในทิศทางที่จะดัด โดยเท้าจะต้องเหยียบบนที่เหยียบของเครื่องมือฮิคกี้ จนทำให้ท่อโค้งเป็นมุม 90? แล้วดังแสดงด้วยจุดไข่ปลาของรูปที่ 123 และตรวจดูว่าท่อที่จะดัดเป็นรูปตัวยูนั้นทั้งข้างขนานกันตลอดท่อหรือไม่ ถ้าไม่ขนานกันต้องมีการดัดคืนตัวหรือดัดเพิ่มขึ้นอีก

                     การดัดท่อเพื่อบกระดับอย่างง่ายๆ ในการเดินสายไฟด้วยระบบเดินท่อนั้น ไม่ใช่ว่าจะมีแต่ต้องงอท่อด้วยมุม 45? และ 90? ตลอดเวลาก็หาไม่ อันที่จริงแล้วในทางปฏิบัติเราจะพบมีสิ่งก่อสร้างกีดขวางเดินท่อ และไม่อาจงอท่อให้เป็นมุม 90? ได้ตลอดทาง ขอให้พิจารณาดูรูปที่ 124 แสดงการงอท่อหลีกสิ่งกีดขวางโดยการดัดท่อจากระดับหนึ่งไปสู่อีกระดับหนึ่ง นั้น จะต้องใช้วิธีการลากเส้นเป็นแนวไว้บนพื้นห้องหรือพื้นที่ผิวเรียบๆ เข้าช่วยเมื่อดัดท่อแล้วก็ทำการตรวจระยะให้แน่นอน และต้องมองเห็นลักษณะการดัดท่อนี้ได้อย่างชัดเจนตลอดจนสามารถกำหนดการโค้งงอ ของท่อได้ถูกต้อง
                รูปที่ 124 การงอท่อครั้งที่ 2 บนแนวเดียวกันสามารถหาได้ง่ายด้วยการเขียนเส้นขนานลงบนพื้นห้องโดยใช้แนว
                        เส้นตรงเป็นเกณฑ์
รูปที่ 125 สลับทิศทางการดัดท่อใหม่ เพื่อให้การดัดท่อของโค้งที่ 2 ได้ตามแนวที่ต้องการอย่างได้ผล
รูปที่ 125 แสดงการวางตำแหน่งของเครื่องดัดงอท่อในแต่ละจุดที่ดัดงอท่อ ส่วนรูปที่ 126 แสดงวิธีการตรวจสอบความถูกต้องของท่อที่ดัดแล้ว
การดัดท่อข้ามสิ่งกีดขวาง เมื่อมีสิ่งกีดขวางจำเป็นต้องดัดท่อเป็นรูปสะพานข้ามสิ่งกีดขวางนั้นดังรูปที่ 125 ส่วนขั้นตอนการดัดท่อข้ามสิ่งกีดขวางดูได้จากรูปที่ 128
รูปที่ 126 การตรวจสอบท่อที่ดัดแล้วด้วยระดับน้ำ
รูปที่ 127 การดัดท่อข้ามสิ่งกีดขวาง
รูปที่ 128 ลำดับขั้นตอนการดัดท่อข้ามสิ่งกีดขวาง
รูปที่ 129 ใช้เส้นขนานขีดไว้ทั้งสองด้านของท่อ ช่วยทำให้สังเกตความเบี่ยงเบนไปจากแนวเส้นตรงได้
รูปที่ 130 การดัดท่อข้ามสิ่งกีดขวางอีกวิธีหนึ่ง
ให้สังเกตดูว่าการดัดท่อดังกล่าวนี้อาศัยการกำหนดแนวเส้นขนานไว้ และในรูปที่ 129 เราจะต้องขีดเส้นขนานบนด้านข้างทั้ง 2 ด้านของท่อ เพื่อช่วยเป็นแนวทางไม่ให้เกิดการเบี่ยงเบนไปจากแนวตรงกลาง และรูปที่ 130 แสดงวิธีการดัดท่อข้ามสิ่งกีดขวาง

             การดัดท่อให้คืนตัว ตอนแรกๆ ที่ฝึกหัดดัดท่อใหม่ๆ นั้น อาจจะดัดท่อผิดตำแหน่งไปบ้าง ซึ่งเราสามารถจะดัดรอยโค้งงอนั้นคืนตัวให้ตรงได้ใหม่ โดยไม่จำเป็นต้องทิ้งท่อที่เสียนั้นไป จากรูปที่ 131 แสดงวิธีการดัดท่อให้คืนตัวกลับให้ตรงเหมือนเดินอีกวิธีหนึ่ง โดยนะท่อโลหะหนา (rigid conduit) ที่ขนาดโตกว่าท่ออีเอ็มที สวมใส่ที่ปลายท่อ แล้วดัดท่ออีเอ็มทีกลับให้ตรงคงเดิมได้
รูปที่ 131 การดัดท่อที่ดัดเสียให้คืนตัวกลับไปอย่างเดิม
       กฎเกี่ยวกับการดัดงอท่ออีเอ็มที ในหนังสือ NEC ได้กล่าวไว้ว่า “การดัดงอท่อเดินสายไฟนั้นต้องไม่ทำให้ท่อเดินสายไฟได้รับความเสียหายและ เส้นผ่านศูนย์กลางภายในท่อต้องไม่ลดลงกว่าเดิมด้วย”  นอกจากนี้ยังได้กล่าวไว้อีกว่า “ในการเดินท่อสายไฟที่ทำด้วยโลหะระหว่างกล่องต่อสายไฟ 2 กล่อง หรือระหว่างดวงไฟกับดวงไฟ หรือระหว่างดวงไฟกับกล่องต่อสายจะต้องมีมุมที่โค้งงอของท่อรวมกันไม่เกิน 4 มุมฉาก (360 องศา) ทั้งนี้รวมไปถึงมุมโค้งงอที่จุดเข้ากล่องต่อสายหรือดวงไฟด้วย” หรือจะพูดได้ว่าไม่ควรเกิน 4 โค้ง เพราะว่าจะร้อยสายไฟเข้าไปในท่อลำบาก ในหนังสือ NEC จะระบุไว้ในตารางถึงการยอมรับรัศมีความโค้งงอที่ตำสุดของท่อบางขนาดต่างๆ กัน

        การจับยึดท่ออีเอ็มที NEC ได้กำหนดไว้ว่าจะต้องติดตั้งท่ออีเอ็มทีให้เป็นระบบที่สมบูรณ์และ ต้องมีการยึดท่ออย่างน้อยที่สุดทุกๆ ระยะ 10 ฟุต และภายในระยะ 3 ฟุตจากกล่องต่อสายกล่องแยกสาย กล่องควบคุม หรือดวงไฟ เป็นต้น และในรูปที่ 132 แสดงที่จับยึดท่ออีเอ็มทีแบบต่างๆ

แบบจับรูเดียว
แบบรูเดียว
แบบสองรู
แบบตะปูฝัง
รูปที่ 132 ที่จับยึดท่อ
ส่วนรูปที่ 133 แสดงการวางท่อในลักษณะที่จะสามารถร้อยสายไฟลอดผ่านได้สะดวก โดยท่อเดินสายไฟถูกจับยึดเข้ากับกล่องต่อสาย และยึดด้วยหัวต่อท่อและข้อต่อท่อ
รูปที่ 133 ระบบการติดตั้งเดินสายแบบใช้ท่ออีเอ็มที ซึ่งเมื่อติดตั้งแล้ว สายไฟก็ร้อยเข้าไปตามท่อได้ง่าย
             อุปกรณ์การเกาะยึดผนัง ฝ้า เพดาน พื้นห้อง อุปกรณ์นี้เมื่อเราขันตัวสกรูหรือบางแบบขันน๊อตเข้ามาทำให้กลไก ภายในทำงานกางลวดสปริงให้ถ่างออกไปดันดับช่วงผนังนั้นกระชับแน่นยิ่งขึ้น (ดูรูปที่ 134) และอุปกรณ์อีกอย่างหนึ่งที่ต้องสนใจก็คือ สมอบก หรือเรียกว่า
รอว์ลปลั๊ก เป็นอุปกรณ์ช่วยในการจับยึดผนังไว้ไม่ให้หลุดออกมาได้ อาศัยหลักการเดียวกันกับอุปกรณ์เกาะยึดผนัง เมื่อเราใส่สมอบกเข้าไปแล้ว ขันสกรูเข้าไปสมอบกซึ่งมันอ้าอยู่แล้วก็จะกางขาที่อ้านั้นออกไปดันกับรูภายในผนังนั้น

          หัวต่อท่อ ใช้สำหรับยึดท่อให้อยู่กับกล่องต่อสาย ด้วยการใช้หัวต่อท่อชนิดขันเกลียวอัดแน่น (compression) ชนิดย้ำร่อง (indenter) และชนิดขันสกรู (set screw) ดังแสดงในรูปที่ 135 หัวต่อแต่ละแบบจะใช้เทคนิคในการยึดท่อแตกต่างกันไป
หัวต่อชนิดอัดแน่น หัวต่อแบบนี้จะใช้วิธีขันเกลียวที่ตัวหัวต่อเข้ากับกล่องต่อสาย (ดูรูปที่ 136) มันจะดันวงแหวนล็อคกับผนังของกล่องต่อสายซึ่งท่อก็จะถูกยึดไว้ด้วย การยึดท่อวีธีนี้สามารถคลายออกและนำกลับมาใช้ได้อีก
รูปที่ 134 อุปกรณ์การเกาะยึด และการใช้งาน


หัวต่อท่อชนิดอัดแผ่น

หัวต่อท่อชนิดน้ำร่อง

หัวต่อท่อแบบขันสกรู
รูปที่ 135 หัวต่อท่ออีเอ็มทีชนิดต่างๆ
รูปที่ 136 การใช้หัวต่อชนิดอัดแน่นด้วยการขันนอตล็อคเข้าไป
        หัวต่อชนิดย้ำร่อง เป็นหัวต่ออีกอย่างหนึ่งที่ใช้วิธีย้ำทำให้เป็นร่องวงแหวนโดยรอบ เป็นหัวต่อที่ทันสมัยและดีกว่าแบบเดิม หัวต่อแบบนี้ต้องใช้เครื่องมือย้ำร่องเป็นพิเศษ มาบีบท่อทั้งสองให้เป็นร่องวงแหวนโดยรอบข้อต่อ ทำให้ท่อถูกรัดไว้ ด้วยการบีบท่อนี้จะยึดหัวต่อเข้ากับกล่องต่อสายก่อนหรือจะต่อเข้าที่หลังก็ได้
หัวต่อย้ำร่อง
เครื่องมือย้ำร่อง
การย้ำร่องที่เสร็จแล้ว
รูปที่ 137 การต่อหัวต่อชนิดย้ำร่องด้วยเครื่องย้ำร่องชนิดพิเศษ
        จากรูปที่ 137ซึ่งแสดงหัวต่อท่อย้ำร่องหัวต่อนี้จะใช้หลักการต่อหัวต่อเข้ากับท่ออีเอ็มทีด้วยการย้ำให้เป็นร่องลงไปเป็น รูปวงแหวนเท่ากับเป็นการล็อคซึ่งกันและกัน ดังนั้นจึงไม่สามารถคลายออกจากกัน ต้องตัดท่ออีเอ็มทีทิ้งไปพร้อมกับหัวต่อ โดยใช้เลื่อยตัดเหล็ก

        หัวต่อชนิดขันสกรู การใช้หัวต่อชนิดนี้ต้องอาศัยการขันสกรูเพื่อยึดท่อให้เข้าที่ การยึดท่อแบบนี้สามารถคลายออกได้ และนำกลับไปยึดท่อใหม่ได้อีก
หัวต่อสำหรับท่อ
การนำไปใช้งานจริง
รูปที่ 138 หัวต่อแบบขันสกรู กระทำอย่างรวดเร็วได้ด้วยการขันสกรู
           ข้อต่อท่ออีเอ็มที ท่อที่ใช้เดินสายไฟนี้แตกต่างจากสายเคเบิลชนิดเปลือกโลหะและชนิด เปลือกอโลหะตรง ที่จะต้องต่อท่อเข้าด้วยกันหากต้องเดินท่อเกินกว่าระยะทาง10ฟุตและเมื่อต้อง การต่อท่อเข้าด้วยกันก็ต้องให้ผิวหนังภายในเรียบเหมือนเดิม โดยจะต้องใช้ข้อต่อท่อ (conduit couplings) เชื่อมต่อท่อเข้าด้วยกัน ดูรูปที่ 139 แสดงการเชื่อมต่อท่อด้วยข้อต่อ ซึ่งจะเห็นได้ว่าแท้ที่จริงนั้น ข้อต่อข้อนี้ก็คือ หัวต่อท่อจำนวน 2 ตัวหันหลังชนกันและใช้หลักการทำงานแบบเดี่ยวกัน ก็คือการอัดแน่น การย้ำร่อง และการขันสกรู ในกรณีที่ต้องการวางท่อลงในบริเวณที่มีน้ำอยู่ จะต้องใช้ตัวยึดท่อชนิดในรูปที่ 140 แทนเพื่อป้องกันน้ำรั่วซึมเข้ารอยต่อ
ข้อต่อชนิดอัดแน่น
ข้อต่อชนิดย้ำร่อง
ข้อต่อชนิดขันสกรู
รูปที่ 139 การเชื่อมต่อท่อด้วยข้อต่อ
รูปที่ 140 หัวต่อพิเศษที่สร้างขึ้นเพื่อป้องกันน้ำรั่วซึมเข้ามา


        การติดตั้งท่อโลหะหนาการดัดท่อโลหะหนาต้องใช้ทักษะมากกว่าท่อโลหะบาง ทั้งนี้เนื่องจาก
ท่อแบบนี้หนักกว่าและแข็งแรง ยากแก่การโค้งงอ นอกจากนี้หลังจากตัดท่อแล้วต้องทำเกลียวที่ปลายท่อด้วย โดยใช้เครื่องมือทำเกลียวมีน้ำหนักมากและราคาแพง อย่างไรก็ตามในการเดินสายไฟภายในอาคารนั้นมีความจำเป็นที่จะใช้ท่อโลหะหนา มากน้อยมาก กล่าวคือส่วนใหญ่เราจะใช้ท่อชนิดเฉพาะเพื่อเป็นท่อรับไฟเข้า และใช้ในการเดินสายใต้ดิน ท่อแบบนี้หาซื้อได้ตามร้านค้าอุปกณ์ไฟฟ้าทั่วไป ซึ่งท่อโลหะหนานี้จะมีเกลียวที่ปลายอยู่พร้อม มีหลายขนาดและความยาวต่างๆ กันจำหน่าย ตามแต่ความต้องการของผู้ซื้อ ขณะเดียวกันก็มักจะมีท่อโค้ง 90? และท่อโค้ง ท่อต่อ ไว้จำหน่ายพร้อมมูลพร้อมทั้งบริการรับตัดและทำเกลียวที่ท่อโลหะหนาด้วย ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมในบทที่ 11 เรื่องการติดตั้งระบบนำไฟเข้า เพื่อดูว่าจำเป็นจะต้องใช้ท่อเดินสายไฟแบบหนาบริเวณใดบ้าง

           การติดตั้งท่อโลหะอ่อน การเดินสายไฟด้วยท่ออ่อนนี้ใช้เทคนิคการเดินสายเช่นเดียวกับการวางสาย
เคเบิลชนิดเปลือกโลหะให้กลับไปดูบทที่ 9 เรื่อง การวางสายเคเบิลชนิดเปลือกโลหะ หากแตกต่างกันตรงที่การวางท่ออ่อนนี้เราจะสอดใส่ร้อยสายเข้าไฟในท่อภายหลัง จากการติดตั้งอุปกรณ์ทุกตัวเรียบร้อยแล้วเท่านั้นดังแสดงในรูปที่ 141 ส่วนสายเคเบิลชนิดเปลือกโลหะหุ้มจะมีสายไฟอยู่ภายในเปลือกโลหะแล้ว
รูปที่ 141 ท่อโลหะอ่อนติดตั้งไว้กับกล้องต่อสายไว้สมบูรณ์แล้วจึงจะร้อยสายไฟเข้า
         การร้อยสายไฟเข้าท่อเดินสาย การเดินสายไฟฟ้าเข้าไปในท่อโลหะสำหรับเดินสายไฟนั้นเรามักเรียกกันว่า ฟิชชิ่ง (fishing) หรือการดึงสายไฟร้อยผ่านไปในท่อ รูปที่ 142 แสดงการใช้ที่ดึงสาย (fish tape) ดึงสายไฟร้อยผ่านจากด้านหนนึ่งไปสู่อีกด้านหนึ่งที่ต้องการ ซึ่งสามารถร้อยผ่านท่อที่มีความโค้งรวมไม่เกิน 4 มุมฉาก เมื่อสายไฟถึงที่ต้องการแล้วก็ปลดเทปออก การดึงสายไฟในท่อนั้น ท่อจะต้องลื่นโดยใส่สารลดความฝืดของท่อ เช่นกราไฟต์หรือสารอื่นที่ไม่ทำอันตรายกับฉนวน และท่อต้องเรียบเพื่อสายไฟจะเคลื่อนผ่านท่อได้สะดวก การทำงานร้อยสายนี้ปกติควรมีอย่างน้อยสองคน คนหนึ่งดึงสายอีกคนหนึ่งคอยส่งสายไฟ
รูปที่ 142 วิธีการดึงสายลอดท่อ ซึ่งจะต้องผูกสายให้แน่นและแข็งแรง
รูปที่ 14337 ฟิชเทปชนิดต่างๆ
รูปที่ 144 การใช้ฟิชเทปดึงสายร้อยผ่านท่อ และวัสดุหล่อลื่น
             การปรับระบบการเดินสายท่อให้สมบูรณ์ โดยส่วนใหญ่แล้วการติดตั้งสวิตซ์และเต้าเสียบ ในระบบท่อนี้จะเหมือนกันกับระบบการเดินสายแบบอื่นๆ ในการเดินสายไฟร้อยในท่อที่มีการต่อลงดินให้กับโลหะนั้น สำหรับการต่อเต้าเสียบลงดินที่ท่อประปาหรือจะใช้สายลงดินสีเขียวลากดินมาต่อ ที่เต้าเสียบตรงจุดสกรูสีเขียวอีกก็ได้เพิ่ม
ความปลอดภัยมากขึ้น รูปที่ 145 จนถึง 148 แสดงการใช้ท่อเดินสายไฟเพื่อต่อเติมจากระบบไฟฟ้าที่มีอยู่เดิม
รูปที่ 145 การเพิ่มสายลงดิน ต้องร้อยสายนี้ และต่อเข้ากับอุปกรณ์ ท่อโลหะร้อยสายนั่นเองจะเป็นทางเดินสู่ดิน
รูปที่ 146 ท่อโลหะจะต่ออยู่ และวิ่งไปยังโคมไฟ
รูปที่ 147 การเดินสายท่อใต้ดินโดยระหว่างบ้านถึงโรงรถ
รูปที่ 148 การจับยึดเต้าเสียบแบบกันความชื้นภายนอกอาคาร
           การติดตั้งอุปกรณ์รับไฟเข้าจากเครื่องวัดไฟฟ้า (มิเตอร์) ควรขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่การฟ้าหรือช่างไฟฟ้า
ผู้ชำนาญเสียก่อน การติดตั้งอุปกรณ์รับไฟอย่างเหมาะสมจะทำให้อายุการใช้งานยาวนานและไม่ต้องบำรุงรักษาเป็นเวลาแรมปี
 credit:http://www.nsru.ac.th/e-learning/anuson/b8.htm

Leave a Reply

Lor separat

jdjukrkkr

Video

Followers