About

ประเภทของกันสาด


 

อากาศค่อนข้างแปรปรวนบ่อยทั้งแดด ทั้งฝนที่ตกกระหน่ำ ลองหากันสาดสวยๆ ดีไซน์หรูๆ มาติดบ้านดู เผื่อป้องกันแสงแดดที่ร้อนระอุ และสายฝนที่จะกระหน่ำบ้านคุณดู ก็คงจะช่วยให้บ้านน่าดูขึ้นอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว
บ้านที่ปล่อยให้แดดจัดๆส่องเข้าบ้านตรงๆเต็มๆ ความร้อนจะสะสมในบ้าน ทำให้พัดลมและเครื่องปรับอากาศต้องทำงานหนัก การใช้ไฟฟ้าก็มากขึ้นด้วย ค่าใช้จ่ายก็จะตามมา กันสาดจึงเป็นเครื่องมือที่ดีช่วยบังแดดไม่ให้ส่องผ่านเข้ามาในบ้านได้ ควรติดกันสาดทางทิศตะวันตกและทิศใต้เช่นเดียวกับการปลูกต้นไม้ เพื่อให้ช่วยบังแดด
การติดตั้งกันสาดหรือแผงกันแดดที่ดีนั้นต้องเป็นกันสาดที่กันแสงแดดไม่ให้ส่องผ่านเข้ามาในบ้านได้เกือบทั้งหมด แต่ก็มีกัดสาดอีกรูปแบบหนึ่งที่แสงสามารถส่องผ่านเข้ามาได้ ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละบุคคลว่าจะชอบแบบไม่ให้มีแสงลอดหรือมีแสงลอดมาได้ แต่ข้อสำคัญก็อย่าติดมากถึงกับทำให้ภายในบ้านมืดจนต้องเปิดดวงไฟแสงสว่างในเวลากลางวัน เพราะแทนที่จะเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่าย กลับจะกลายเป็นเพิ่มค่าใช้จ่ายให้คุณอีกก็เป็นได้
กันสาดหรือแผงกันแดดประเภทที่เอามาติดเข้าที่ตัวบ้านในภายหลัง โดยมากมักจะต้องเป็นกันสาดหรือแผงกันแดดที่มีน้ำหนักเบา ๆ ยื่นยาวอกกมาได้ไม่มากนัก เนื่องจากไม่ได้มีการ
เตรียมโครงสร้างของบ้านไว้รองรับ เช่น พวกกันสาดอลูมิเนียม ไฟเบอร์กลาส ไปจนถึงระแนงไม้ และผ้าใบ พวกนี้ต้องมีการบำรุงรักษาและเปลี่ยนวัสดุบ้าง จะให้ดีควรต้องปรึกษาผู้รู้ก่อนติดตั้ง เพื่อป้องกันปัญหากับโครงสร้าง
ของตัวบ้าน ซึ่งก็จะมีอยู่ 2 ประเภทนั่นก็คือ 
 แบบใช้งานถาวร  แผ่นกันแดดแบบนี้มีอายุการใช้งานยาวนาน คงทนถาวร ใช้ค่าก่อสร้างสูง แต่เสียค่าบำรุงรักษาและซ่อมแซมน้อย จึงคุ้มค่ากว่าเมื่อเปรียบเทียบกับระยะเวลาใช้งาน แบ่งออกได้เป็น
   - คอนกรีตเสริมเหล็ก
   - โลหะประเภทอลูมิเนียม หรือเหล็กอลูมิเนียม
  
- โพลีกลาสและไฟเบอร์กลาส
   - ผ้าใบ ใช้ในลักษณะเช่นเดียวกับไม้ไผ่ หรือเป็นโครงเหล็ก
 ส่วนวิธีการติดตั้งกันสาดนั้น หลักๆ ก็จะมีอยู่สามรูปแบบก็คือ
กันสาดแนวราบ เหมาะสำหรับหน้าต่างด้านทิศเหนือและทิศใต้ ซึ่งการ ติดตั้งที่จะทำให้กันสาดทำหน้าที่ของตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ มากที่สุดก็คือ ด้านทิศเหนือ กันสาดควรมีระยะยื่นทำมุมอย่างน้อย 10 องศากับขอบล่างของหน้าต่าง ด้านใต้ให้ทำมุมอย่างน้อย 37 องศากับขอบ
กันสาดแนวดิ่ง เหมาะสำหรับด้านตะวันออกและตะวันตก เพราะสามารถบังแสง อาทิตย์ในช่วงเช้าและเย็นได้ดี แต่การออกแบบกันสาดแนวดิ่ง เพื่อบังแดดในทุกช่วง เวลาคงทำได้ยาก นั่นเพราะ ตำแหน่งของดวงอาทิตย์ในบ้านเรา ที่เวลาต่างๆ ในแนว ทิศตะวันออก และตะวันตก จะมีการเบี่ยงเบนมาก ฉะนั้นการออกแบบที่เหมาะสมก็โดย ทำมุมประมาณ 30 องศากับระนาบผนัง
กันสาดเป็นอุปกรณ์บังแสงแดดให้กับหน้าต่างซึ่งสามารถช่วยลดปริมาณความร้อนจากแสงอาทิตย์ ไม่ให้เข้าสู่อาคารและตัวบ้านได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพมากขึ้นก่อนอื่นควรเลือกใช้ให้ถูกต้องด้วย
 1. หน้าต่างที่อยู่ทางทิศเหนือและใต้ควรใช้กันสาดในแนวราบ จะบังแดดช่วงเที่ยงจนถึงบ่ายได้ดี
2. กันสาดแนวดิ่ง จะช่วยบังแดดช่วงเช้าและเย็น เหมาะสำหรับหน้าต่างที่อยู่ทางทิศตะวันออกแลทิศ    ตะวันตก
3. กันสาดแบบผสม เป็นการนำเอาคุณสมบัติที่ดีของทั้งแนวราบ และแนวดิ่งมารวมกัน ทำให้สามารถป้องกันแสงแดดได้ตลอดวัน
4. กันสาดแบบที่นำมาติดกับตัวบ้านภายหลังควรเลือกใช้กันสาดที่มีน้ำหนักเบา เช่น ไฟเบอร์กลาส ระแนงไม้ หรือผ้าใบ เพื่อป้องกันการเกิดปัญหากับโครงสร้างของตัวบ้าน
ถ้าให้ดีก็อย่าติดกันสาดมากจนเกินไป จนถึงขนาดทำให้ในบ้านมืด เพราะแทนที่จะช่วยประหยัดพลังงานทำให้บ้านเย็น กลับต้องมาเสียค่าไฟเพิ่มในการให้แสงสว่างแทน
 

กันสาดโพลิคาร์บอเนต
คุณสมบัติและประโยชน์ของกันสาด Poly Carbonate
1.   มีความสวยงามกว่ากันสาดชนิดอื่น จึงสามารถติดตั้งได้กับบ้าน และอาคารได้ทุกแบบ
2.   ป้องกันแสง UV ได้ 100%
3.   น้ำหนักเบา จึงทำให้ประหยัดโครงสร้างไม่ต้องยุ่งยากเรื่องคอนกรีต และเสาเข็ม
4.   สามารถดัดโค้งได้ 360 ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 ทำให้สามารถออกแบบได้หลากหลายรูปแบบ
5.   ตัววัสดุ Poly Carbonate มีความทนทานต่อทุกสภาพอากาศ และรับประกันนานถึง 10 ปี
6.   ไม่ทำให้เกิดเสียงดัง ขณะฝนตก เนื่องจากตัววัสดุ Poly Carbonate มีลักษณะเป็นผนัง 2 ชั้น (Twin Wall) จึงทำให้ช่วยลดเสียงขณะทั้งฝนกระทบหลังคา กันสาดได้อย่างมาก
7.   มีสีให้เลือกมากกว่า 9 สี
 
ชนิดไม่มีแถบสี
1.  สีใส (clear)
2.  สีชา (Bronze)
3.  สีฟ้า (Greenish Blue)
4.  สีน้ำเงิน (Blue)
5.  สีชาเข้ม (Greenish Blue)
6.  สีขาวขุ่น (Opal White)

ชนิดมีแถบสี
1.  สีฟ้า
2.  สีใส
3.  สีชา


 
cradit: http://www.engineerthai.com/roof.htm
http://www.banbangkok.com/index.php?PHPSESSID=ae24eaf4b7becfdb9e3a08c52f168595&topic=776.0



 

Read more

Lor separat

jdjukrkkr

Video

Followers