ความรู้ทั่วไปและความหมายของภาษีป้าย
ภาษีป้าย คือ ภาษีที่จัดเก็บจากป้ายโฆษณาสินค้าต่างๆ
ป้ายที่ต้องเสียภาษี
ได้แก่ป้ายที่แสดงชื่อ ยี่ห้อหรือเครื่องหมาย ที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือ ประกอบ
กิจการอื่น เพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้าหรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะได้แสดงหรือโฆษณา
ไว้ที่วัตถุใดๆ ด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น
ป้ายที่ไม่ต้องเสียภาษี
(1) ป้ายที่แสดงไว้ ณ โรงมหรสพและบริเวณของโรงมหรสพนั้นเพื่อโฆษณามหรสพ
(2) ป้ายที่แสดงไว้ที่สินค้าหรือสิ่งที่ห่อหุ้มหรือบรรจุสินค้า
(3) ป้ายที่แสดงไว้บริเวณงานที่จัดขึ้นเป็นครั้งคราว
(4) ป้ายที่แสดงไว้ที่คนหรือสัตว์
(5) ป้ายที่แสดงไว้ภายในอาคารที่ใช้ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นหรือภายในอาคารซึ่งเป็น
ที่รโหฐาน ทั้งนี้เพื่อหารายได้และแต่ละป้ายมีพื้นที่ไม่เกิน 3 ตารางเมตรที่กำหนดในกฎกระทรวง
แต่ไม่รวมถึงป้ายตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์
(6) ป้ายของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาคหรือราชการส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วย
ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
(7) ป้ายขององค์การที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาลหรือตามกฎหมาย
ว่าด้วยการนั้นๆ และหน่วยงานที่นำรายได้ส่งรัฐ
(8) ป้ายของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ธนาคารเพื่อ
การสหกรณ์และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
(9) ป้ายของโรงเรียนเอกชน ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนหรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
ตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ที่แสดงไว้ ณ อาคารหรือบริเวณของโรงเรียน
เอกชนหรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้น
(10)ป้ายของผู้ประกอบการเกษตรซึ่งค้าผลผลิตอันเกิดจากการเกษตรของตน
(11)ป้ายของวัดหรือผู้ดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์แก่การศาสนาหรือการกุศลสาธารณะโดยเฉพาะ
(12)ป้ายของสมาคมหรือมูลนิธิ
(13)ป้ายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ปัจจุบันมีกฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ.2535) ให้เจ้าของป้าย
ไม่ต้องเสียภาษีป้าย สำหรับ
(13.1) ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่รถยนต์ส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์ รถบดถนนหรือรถแทรกเตอร์
ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
(13.2) ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่ล้อเลื่อนตามกฎหมายว่าด้วยล้อเลื่อน
(13.3) ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่ยานพาหนะนอกเหนือจาก (13.1) และ (13.2)โดยมีพื้นที่ไม่เกิน
ห้าร้อยตารางเซนติเมตร
ผู้มีหน้าที่เสียภาษี
เจ้าของป้าย แต่ในกรณีไม่มีผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป.1) สำหรับป้ายใดเมื่อ
เจ้าหน้าที่ไม่อาจหาตัวเจ้าของป้ายนั้นได้ ให้ถือว่าผู้ครอบครองป้ายนั้นเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษี ถ้าไม่
อาจหาตัวผู้ครอบครองป้ายนั้นได้ให้ถือว้าเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร หรือที่ดินที่ป้ายนั้นติดตั้ง
หรือแสดงอยู่เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายตามลำดับและให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งการประเมินภาษีเป็น
หนังสือไปยังบุคคลดังกล่าว
กำหนดระยะเวลาให้ยื่นแบบแสดงรายการ
ให้เจ้าของป้ายซึ่งจะต้องเสียภาษีป้าย ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป.1) ณ ฝ่ายรายได้
สำนักงานเขตซึ่งป้ายนั้นติดอยู่ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี ป้ายที่ติดตั้งใหม่หรือมีการเปลี่ยนแปลง
หลังจากเดือนมีนาคมให้ยื่นแบบภายใน 15 วัน นับแต่วันติดตั้งหรือแสดงป้าย หรือนับตั้งแต่วันเปลี่ยนแปลงแก้ไขแล้วแต่กรณีให้เจ้าของป้ายมีหน้าที่เสียภาษีโดยเสียเป็นรายปี ยกเว้นป้ายที่เริ่มติดตั้งหรือแสดงในปีแรกให้เสียภาษีป้ายตั้งแต่วันเริ่มติดตั้ง หรือแสดงจนถึงวันสิ้นปีและคิดภาษีป้ายเป็นรายงวด งวดละ 3 เดือน ของปีโดยเริ่มเสียภาษีป้ายตั้งแต่งวดที่ติดตั้งป้ายจนถึงงวดสุดท้ายของปี
ในกรณีที่เจ้าของป้ายอยู่นอกประเทศไทย
ให้ตัวแทนหรือผู้แทนในประเทศมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายแทนเจ้าของป้าย
ถ้าเจ้าของตายหรือไม่อยู่ เป็นคนสาบสูญ เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
ให้ผู้จัดการมรดก ผู้ครอบครองทรัพย์มรดกไม่ว่าจะเป็นทายาทหรือผู้อื่น ผู้จัดการทรัพย์สิน ผู้อนุบาล
หรือผู้พิทักษ์แล้วแต่กรณีมีหน้าที่ปฏิบัติการแทนเจ้าของป้าย
เจ้าของป้ายผู้ใด
(1) ติดตั้งหรือแสดงป้ายอันต้องเสียภาษีภายหลังเดือนมีนาคมให้เสียเป็นรายงวด
(2) ติดตั้งหรือแสดงป้ายใหม่แทนป้ายเดิม และมีพื้นที่ ข้อความภาพและเครื่องหมาย
อย่างเดียวกับป้ายเดิมที่ได้เสียภาษีป้ายแล้ว ได้รับยกเว้นภาษีเฉพาะปีที่ติดตั้ง
(3) เปลี่ยนแปลงแก้ไขพื้นที่ป้าย ข้อความ ภาพ หรือเครื่องหมายบางส่วนในป้ายที่ได้เสีย
ภาษีป้ายแล้ว อันเป็นเหตุให้ต้องเสียภาษีป้ายเพิ่ม ป้ายที่เพิ่มข้อความชำระตาม
ประเภทป้ายเฉพาะส่วนที่เพิ่ม ป้ายที่ลดขนาดไม่ต้องคืนเงินภาษีในส่วนที่ลดถ้า
เปลี่ยนขนาดต้องชำระใหม่
ฐานภาษีและอัตราภาษี
ฐานภาษีให้คิดจากขนาดกว้างคูณยาวของป้ายและอัตราภาษีให้คิดจากประเภทของป้าย
เช่น เป็นอักษรไทย หรือต่างประเทศ หรือรูปภาพ
ป้ายที่มีขอบเขตกำหนดไว้
การคำนวณพื้นที่ป้ายให้เอาส่วนกว้างที่สุดคูณด้วยส่วนยาวที่สุดเป็นขอบเขตของป้าย
ป้ายที่ไม่มีขอบเขตกำหนดไว้
ให้ถือเอาตัวอักษร ภาพหรือเครื่องหมาย ที่อยู่ริมสุดเป็นขอบเขต เพื่อกำหนดส่วนที่กว้าง
ที่สุดและยาวที่สุด แล้วคำนวณตามตารางคำนวณพื้นที่เป็นตารางเซนติเมตรเศษของ 500 ตารางเซนติเมตร ถ้าเกินครึ่งให้นับเป็น 500 ตารางเซนติเมตร ถ้าต่ำกว่าปัดทิ้ง
อัตราภาษีป้าย
ประเภทป้าย อัตรา บาท/500 ตารางเซนติเมตร
1. อักษรไทยล้วน 3
2. อักษรไทยปนอักษรต่างประเทศ/ภาพ/ 20
เครื่องหมายอื่น
3. ป้ายดังต่อไปนี้ 40
- ไม่มีอักษรไทย
- อักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ได้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ
4. ป้ายที่เปลี่ยนแปลงแก้ไขพื้นที่ป้าย ข้อความภาพ หรือเครื่องหมายบางส่วนในป้ายที่ได้เสีย
ภาษีป้ายแล้ว อันเป็นเหตุให้ต้องเสียภาษีป้ายเพิ่มขึ้นให้คิดอัตราตาม 1, 2 หรือ 3 แล้วแต่
กรณีและให้เสียเฉพาะเงินภาษีที่เพิ่มขึ้น
5. ป้ายใดเมื่อคำนวณแล้วจำนวนเงินต่ำกว่า 200 บาทให้เสีย 200 บาท
การคำนวณภาษีป้าย
ให้คำนวณภาษีป้ายโดยนำพื้นที่กว้างคูณยาว โดยคำนวณเป็นตารางเซนติเมตรหารด้วย
ห้าร้อย คูณด้วยอัตราภาษีป้ายประเภทนั้นๆ
ตัวอย่างการคำนาณภาษี
นาย ค. มีป้ายโฆษณาสินค้าที่มีอักษรไทยปนรูปภาพ (ป้ายนี้เป็นป้ายประเภท 2) ขนาดกว้าง 100 เซนติเมตร ยาว 400 เซนติเมตร ต้องเสียภาษีป้ายดังนี้
100 x 400 = (40,000 / 500) x 20 = 1,600 บาทต่อปี
หมายเหตุ : ป้ายใด เมื่อคำนวณภาษีแล้วมีจำนวนเงินที่ต้องเรียกเก็บภาษีต่ำกว่า 200 บาท ให้
เรียกภาษีป้ายละ 200 บาท ต่อปี
การชำระภาษี
ผู้รับประเมินได้รับหนังสือแจ้งการประเมินภาษี (ภ.ป.3) ให้ชำระเงิน ภายใน 15 วัน นับ
แต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน โดยชำระภาษีได้ที่ สำนักงานเขตซึ่งป้ายนั้นตั้งอยู่ การชำระภาษีป้ายจะ
กระทำโดยส่งธนาณัติหรือตั๋วแลกเงินของธนาคารที่สั่งจ่ายแก่กรุงเทพมหานครก็ได้ โดยส่งทาง
ไปรษณีย์ลงทะเบียน และให้ถือว่าวันที่ได้ทำการส่งดังกล่าวเป็นวันชำระภาษีป้าย หรือชำระผ่าน
ธนาคารกรุงไทย เป็นการรับชำระภาษีกรณีปกติไม่มีเงินเพิ่มและไม่เกินวันที่กำหนดไว้ในใบนำการ
ชำระภาษีกรุงเทพมหานคร
ขั้นตอนการยื่นเสียภาษี
ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายสามารถขอรับแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป.1) ได้ที่
ฝ่ายรายได้ สำนักงานเขต โดยกรอกรายการในแบบ ภ.ป.1 ตามความเป็นจริงให้ครบถ้วน ลงลายมือ
ชื่อของตนพร้อมวัน เดือน ปี ส่งคืนพนักงานเจ้าหน้าแห่งท้องที่ที่ป้ายนั้นได้ติดตั้ง หรือแสดงไว้ ทั้งนี้
จะนำส่งด้วยตนเอง มอบหมายให้ผู้อื่นไปส่งแทนหรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ได้
เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบการยื่นแบบ
กรณีป้ายใหม่ ให้เจ้าของป้ายยื่นแบบเสียภาษี พร้อมสำเนาหลักฐานและลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้อง ได้แก่
1.บัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้าน
2.ใบทะเบียนการค้า ทะเบียนพานิชย์
3.ใบอนุญาตติดตั้งป้ายหรือใบเสร็จรับเงินจากร้านทำป้าย (ถ้ามี)
4.หนังสอรับรองนิติบุคคล (กรณีนิติบุคคล)
5.ใบมอบอำนาจกรณีให้ผู้อื่นทำการแทน
6.อื่นๆ สอบถามรายละเอียดได้ที่ฝ่ายรายได้ สำนักงานเขต
การขอผ่อนชำระภาษี
ถ้าภาษีป้ายที่ต้องชำระมีจำนวนตั้งแต่สามพันบาทขึ้นไป ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายจะขอผ่อนชำระเป็นสามงวดงวดละเท่าๆ กันก็ได้ โดยแจ้งความจำนงเป็นหนังสือให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อน
ครบกำหนดเวลาการชำระภาษี และให้ชำระ
งวดที่หนึ่ง ก่อนครบกำหนดเวลาชำระภาษี
งวดที่สอง ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันสุดท้ายที่ต้องชำระงวดที่หนึ่ง
งวดที่สาม ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันสุดท้ายที่ต้องชำระงวดที่สอง
เงินเพิ่ม
ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย เสียเงินเพิ่มนอกจากเงินที่ต้องเสียภาษีป้ายในกรณีและอัตราดังนี้
1.การอุทธรณ์
ไม่ยื่นแบบภายในเวลาที่กำหนดเสียเงินเพิ่ม ร้อยละสิบ ของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษี แต่ถ้ายื่น
แบบก่ิอนได้รับใบแจ้งเตือนเสียเงินเพิ่ม ร้อยละ 5 ของจำนวนเงินที่ต้องเสีย
2.ยื่นแบบไม่ถูกต้องทำให้เสียภาษีน้อยลงเสียเงินเพิ่ม ร้อยละสิบ ของภาษีป้ายที่ประเมินเพิ่มเติม
3.ไม่ยื่นชำระภาษีป้าย ภายในเวลาที่กำหนดเสียเงินเพิ่ม ร้อยละสอง ต่อเดือนของจำนวนเงิน
ที่ต้องเสียภาษีป้าย
การอุทธรณ์
ไม่ยื่นแบบภายในเวลาที่กำหนดเสียเงินเพิ่ม ร้อยละสิบ ของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษี แต่ถ้ายื่นแบบก่อนได้รับใบแจ้งเตือนเสียเงินเพิ่ม ร้อยละ 5 ของจำนวนเงินที่ต้องเสีย ยื่นแบบไม่ถูกต้องทำให้เสียภาษีน้อยลงเสียเงินเพิ่ม ร้อยละสิบ ของภาษีป้ายที่ประเมินเพิ่มเติม 2 ไม่ยื่นชำระภาษีป้าย ภายในเวลาที่กำหนดเสียเงินเพิ่ม ร้อยละสอง ต่อเดือนของจำนวนเงิน ที่ต้องเสียภาษีป้าย 3
เมื่อผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายได้รับแจ้งการประเมินแล้ว หากเห็นว่าการประเมินนั้นไม่
ถูกต้องมีสิทธิอุทธรณ์การประเมินต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยยื่นอุทธรณ์ผ่านพนักงาน
เจ้าหน้าที่ ที่ฝ่ายรายได้ สำนักงานเขตท้องที่ซึ่งยื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ โดยต้องยื่นอุทธรณ์ภายใน
30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน
1.เจ้าของป้ายมีสิทธิอุทรณ์การประเมินภาษีป้ายต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยยื่นอุทรณ์ได้ภาย
ใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับ
2.ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาอุทรณ์และแจ้งคำชี้ขาดไปยังผู้ยื่นคำร้อง
3.ถ้าไม่พอใจผลการพิจารณาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสามารถยื่นฟ้องต่อศาล ภายใน 30 วัน
การขอคืนเงินค่าภาษี
ในกรณีที่มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลให้มีการลดจำนวนเงินที่ได้
ประเมินไว้ ให้แจ้งผู้มีหน้าที่เสียภาษีทราบโดยเร็ว เพื่อมาขอรับเงินคืนภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับ
แจ้ง ผู้ใดเสียภาษีป้ายโดยไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษี หรือเสียเกินกว่าที่ควรต้องเสียมีสิทธิได้รับเงินคืน
โดยยื่นคำร้องขอคืนภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้เสียภาษีป้าย
บทกำหนดโทษ
1.จงใจแจ้งข้อความอันเป็นเท็จหรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดงเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับตั้งแต่ 5,000 - 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2.ป้ายที่ติดบนอสังหาริมทรัพย์ของบุคคลอื่นและมีพื้นที่เกิน 2 ตารางเมตร ต้องมีชื่อและที่อยู่เจ้าของป้าย เป็นตัวอักษรไทยชัดเจนที่มุมขวาด้านล่างของป้าย หากไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษ ปรับวันละ 100 บาท ทุกวันตลอดระยะเวลาที่กระทำผิด
3.ไม่แจ้งการรับโอนป้ายภายใน 30 วัน นับแต่วันรับโอนหรือไม่แสดงหลักฐานการเสียภาษีไว้ ณ ที่เปิดเผย ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 1,000 - 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
4.ขัดขวางการปฏิบัติการของพนักงานหรือเจ้าหน้าที่เพื่อตรวจสอบ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเป็นหนังสือเรียกมาให้ถ้อยคำหรือให้ส่งบัญชีหรือเอกสารเกี่ยวกับภาษีป้ายมาตรวจสอบ ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 1,000 - 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
5.จงใจไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 5,000 - 50,000 บาท
แผนผังขั้นตอน...
การยื่นแบบชำระภาษีป้าย
1. การยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีป้าย (ภ.ป.1)
การชำระเงินค่าภาษี ผู้มีหน้าที่ที่ต้องเสียภาษีป้าย ต้องมาขอกรอกแบบแรายการเสียภาษีต่อเจ้าพนักงานประเมิน ณ ฝ่ายรายได้สำนักงานเขต ที่ป้ายตั้งอยู่ โดยจะต้องยื่นแบบ เพื่อขอประเมินภาษีภายในเดือนมีนาคมของทุกปีหรือแสดงรายการภายใน 15 วันนับแต่วันติดตั้งป้าย
2. การตรวจสอบและรับแบบยื่น (ภ.ป.1)
เจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานเขตรับแบบยื่นภ.ป.1 จากประชาชน โดยทำ การตรวจสอบหลักฐานทั้งหมดเพื่อทำการคำนวณค่าภาษี
3.การแจ้งการประเมิน
เมื่อเจ้าหน้าที่ดำเนินการ 2 กรณี ดังนี้
3.1กรณีชำระภาษีป้ายในวันที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี
3.2ไม่ชำระในวันยื่นแบบพนักงานเจ้าหน้าที่แยกประเมิน ภ.ป.3
4.การชำระเงินค่าภาษี
สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้
4.1การชำระเงินค่าภาษีทั้งหมดภายในระยะเวลาที่กำหนด
ต้องชำระภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน ต้องมาชำระเงินที่ฝ่ายการคลัง
สำนักงาน เขตหรือชำระที่กองการเงิน ศาลาว่าการที่กรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) โดยสามารถ
ชำระเงินค่าภาษีทั้งหมดด้วยเงินสด เช็คหรือธนาณัติ โดยวันที่จ่ายเช็ควันที่โอนเงินทางธนาณัติ
จะถือเป็นวันชำระเงินโดยไม่มีการคิดค่าเพิ่ม
4.2การชำระเงินค่าภาษีผ่านธนาคารกรุงไทย
1.พนักงานแจ้งประเมินค่าภาษีและออกใบแจ้งหนี้ค่าภาษีให้ผู้เสียภาษี
2.ผู้มีหน้าที่เสียภาษีรับใบแจ้งหนี้ค่าภาษี
3.นำใบแจ้งหนี้ค่าภาษีไปติดต่อชำระเงินที่ธนาคารกรุงไทยทุกสาขาทั่วประเทศ รอรับใบเสร็จเก็บ
ไว้เป็นหลักฐาน