About

การแบ่งเฟอร์นิเจอร์ตามลักษณะการผลิต

การแบ่งเฟอร์นิเจอร์ตามลักษณะการผลิต
การแบ่งประเภทของเฟอร์นิเจอร์ตามลักษณะการผลิตเฟอร์นิเจอร์ในที่นี้ จะกล่าวถึงเฉพาะเฟอร์นิเจอร์ที่ทำมาจากไม้ จะใช้เกณฑ์พิจารณาในด้านการผลิตเฟอร์นิเจอร์ว่าจะเป็นเทคนิคการผลิตแบบใด บางครั้งเฟอร์นิเจอร์ชิ้นหนึ่งอาจจะใช้เทคนิคการผลิตมากกว่า 1 เทคนิคการผลิตก็ได้ ทางผู้เขียนใคร่ขอแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ดังนี้
1. เฟอร์นิเจอร์ประเภทไม้จริง การผลิตเฟอร์นิเจอร์ประเภทไม้จริงต้องอาศัยช่างเทคนิคที่มีความชำนาญค่อน ข้างสูง มีฝีมือ วัสดุที่ใช้เป็นไม้จริงส่วนมากนิยมใช้เป็นไม้ที่มีลายไม้สวยงามเช่น ไม้สัก ไม้แดง ฯลฯ การต่อไม้ให้เกิดเป็นโครงสร้างใช้การต่อเข้ามุมไม้ซึ่งมีรูปแบบต่าง ๆ เช่น การเข้าปากชน(BUTT JOINT) การเข้าบาก(DADO JOINT) การเข้าเดือย(MORTISE AND TENON JOINT) แต่ละวิธีเหมาะกับงานบางอย่างเท่านั้น การทำเคลือบผิวเฟอร์นิเจอร์ใช้วิธีการลงเชลแล็ก แลคเกอร์เท่านั้นไม่นิยมทำสีย้อม เพื่อให้เห็นลายไม้ที่สวยงาม เครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตเป็นเครื่องมือช่างไม้ที่เครื่องมือ มือ และมีเครื่องมือไฟฟ้าช่วยในบางกรณี เครื่องจักรอาจจะมีก็ได้หรือไม่มีก็ได้ การผลิตจะเป็นแบบสั่งทำสั่งผลิตมากกว่า รูปแบบเฟอร์นิเจอร์จะเป็นรูปแบบตามที่เจ้าของต้องการ เนื่องจากเฟอร์นิเจอร์รูปแบบนี้จะเป็นแบบสั่งทำจึงทำให้มีราคาค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับเฟอร์นิเจอร์ประเภทอื่น ๆ
2. เฟอร์นิเจอร์ประเภทเพลาะโครง การผลิตเฟอร์นิเจอร์ประเภทเพลาะโครงเป็นการแก้ปัญหาในกรณีที่ขาดแคลนไม้ ไม้มีราคาแพง และเป็นการลดน้ำหนักของเฟอร์นิเจอร์ให้เบาลง เทคนิคการเพลาะโครงเป็นการใช้ไม้โครงไม้เนื้ออ่อนภายในและปิดทับด้วยไม้อัด ทั้งด้านหน้าและด้านหลังแทนการเพลาะไม้จริงให้เป็นไม้แผ่นใหญ่ หากต้องการให้ได้ไม้ที่เพลาะโครงมีลายไม้ที่สวยงาม ก็จะใช้ไม้อัดสักปิดทับด้านหน้า ช่างเทคนิคที่ผลิตเฟอร์นิเจอร์ประเภทต้องเป็นช่างที่ผ่านการฝึกฝน สามารถอ่านแบบได้ ถอดรายการได้ วางแผนการทำงานได้ วางโครงสร้างภายในได้ดี จึงจะทำให้เฟอร์นิเจอร์ที่ผลิตออกมา มีความแข็งแรงและถูกต้องตามแบบและไม่สิ้นเปลื้องไม้ เครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต เริ่มมีการนำเครื่องจักรพื้นฐานงานไม้มาช่วยในการผลิตค่อนมากกว่าการผลิต เฟอร์นิเจอร์ประเภทไม้จริง ราคาต่อหน่วยของเฟอร์นิเจอร์ชนิดนี้จะถูกกว่าเฟอร์นิเจอร์ประเภทไม้จริง
3. เฟอร์นิเจอร์ประเภทไม้ประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ จากนโยบายการปิดป่า กระแสการอนุรักษ์ธรรมชาติ ไม่ตัดไม้ทำลายป่า ทำให้เริ่มมีการนำไม้ประดิษฐ์วิทยาศาสตร์มาใช้ในการผลิตเฟอร์นิเจอร์ ไม้ประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ที่นำมาใช้เช่น แผ่นเซฟวิ่งบอร์ด พลายบอร์ด ทีโกบอร์ด ฯลฯ ปัจจุบันเฟอร์นิเจอร์เป็นที่นิยมในตลาด โดยเฉพาะตลาดกลุ่มผู้ซื้อที่มีรายได้ปานกลางถึงค่อนข้างต่ำ เป็นเฟอร์นิเจอร์ที่ผลิตได้ง่ายและรวดเร็วเพราะไม่ต้องมีการทำสี การประกอบยึดติดเป็นโครงสร้างเฟอร์นิเจอร์จะใช้อุปกรณ์ยึดติด(FITTING)ที่ เป็นมาตราฐาน การขนส่งเฟอร์นิเจอร์ประเภทนี้จะเป็นการถอดประกอบแล้วให้ผู้ซื้อประกอบใช้ เอง เครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตเป็นเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพค่อน ข้างสูง มีความแม่นยำแน่นอนในการตัดไม้ ราคาต่อหน่วยค่อนข้างถูกที่สุดในบรรดาเฟอร์นิเจอร์ประเภทต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น

Cradit: http://nopsakon-net.blogspot.com/2007/03/1.html

Read more

แบ่งเฟอร์นิเจอร์ตามสภาพแวดล้อมที่นำไปติดตั้ง

แบ่งเฟอร์นิเจอร์ตามสภาพแวดล้อมที่นำไปติดตั้ง
การแบ่งโดยใช้เกณฑ์พิจารณาด้านสภาพแวดล้อมที่เฟอร์นิเจอร์ไปติดตั้ง ซึ่งผลทางด้านสภาพแวดล้อมจะทำให้มีการออกแบบเฟอร์นิเจอร์มีลักษณะแตกต่างกัน ไป ใช้วัสดุที่มีคุณสมบัติแตกต่างกัน กรรมวิธีการผลิตก็แตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมที่เฟอร์นิเจอร์ชิ้นนั้นไปติด ตั้ง ซึ่งสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภทดังนี้

1. เฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ภายนอกอาคาร (OUT-DOOR FURNITURE) เฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ภายนอกอาคาร เป็นเฟอร์นิเจอร์ประเภทที่มีคุณสมบัติทนทานต่อสภาพแวดล้อม ลม ฟ้าอากาศ แมลงรบกวน เพราะมีการวางตั้งไว้ภายนอกอาคาร ถึงแม้บางครั้งอยู่ภายใต้หลังคา และเฟอร์นิเจอร์ประเภทนี้ทนทานต่อการใช้งานในที่สาธารณะ ซึ่งขอยกตัวอย่างเฟอร์นิเจอร์ประเภทนี้ เช่น เก้าอี้หรือม้านั่งสนาม เก้าอี้หรือม้านั่งบริเวณป้ายรถโดยสารประจำทาง เตียงนอนอาบแดดริมสระน้ำ ฯลฯ วัสดุที่ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ถ้าเป็นไม้ควรจะเป็นไม้ประเภทไม้เนื้อแข็ง หรือเป็นวัสดุโลหะเช่นเหล็กที่ทาสีกันสนิม หรือสแตนเลส การออกแบบรูปร่างของเฟอร์นิเจอร์ประเภทจำเป็นต้องออกแบบให้สอดคล้อง กับรูปแบบอาคาร บ้านพักอาศัย ภูมิสภาพแวดล้อมที่เฟอร์นิเจอร์ชิ้นนี้ไปตั้งอยู่ บางครั้งเฟอร์นิเจอร์ประเภทนี้อาจจะมีประโยชน์ใช้สอยรองเป็นงานทางด้าน ประติมากรรมประดับสวนสาธารณะก็ได้แล้วแต่ผู้ออกแบบ และเจ้าของสถานที่ การติดตั้งเฟอร์นิเจอร์จำเป็นต้องมีการยึดติดกับที่เพื่อป้องกันสูญหาย หรือการเคลื่อนย้ายไปจากตำแหน่งเดิม ผู้ซื้อเฟอร์นิเจอร์อาจจะไม่ได้เป็นผู้ใช้เฟอร์นิเจอร์เสียเอง

2. เฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ภายในอาคาร (IN-DOOR FURNITURE) เป็นเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ภายในอาคารทั้งอาคารสาธารณะ และบ้านพักอาศัยส่วนตัว การออกแบบเฟอร์นิเจอร์จะต้องสอดคล้องกับภายในห้องหรืออาคารอย่างกลมกลืนและ ลงตัว เฟอร์นิเจอร์ประเภทนี้จะมีความเกี่ยวข้องกับผู้ซื้อโดยตรงเพราะผู้ซื้อ เฟอร์นิเจอร์จะเป็นผู้ใช้เอง และมีขอบเขตห้องเป็นส่วนประกอบ เสมือนว่ามนุษย์เป็นจุดศูนย์กลางและมีเฟอร์นิเจอร์เป็นสิ่งแวดล้อม ฉะนั้นการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ต้องคำนึงถึงเนื้อที่ว่าง ทางเดิน และการกลมกลืนกับสิ่งแวดล้อมภายในห้องนั้น ๆ เฟอร์นิเจอร์ประเภทนี้ได้แก่ เช่น เก้าอี้รับแขก โต๊ะ-เก้าอี้รับประทานอาหาร ตู้โชว์ เตียงนอน โต๊ะทำงาน ฯลฯ การเลือกใช้วัสดุสามารถกำหนดเลือกได้หลายรูปแบบตามที่ลูกค้าต้องการไม่ขึ้น อยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศ

Read more

การแบ่งลักษณะตามรูปร่างของเฟอร์นิเจอร์


การแบ่งลักษณะตามรูปร่างของเฟอร์นิเจอร์ 
เฟอร์นิเจอร์ทั้งประเภทที่ใช้ภายนอกอาคารและภายในอาคารสามารถแบ่งประเภทของ เฟอร์นิเจอร์ตามลักษณะรูปร่างของเฟอร์นิเจอร์ จะใช้เกณฑ์การพิจารณาในด้านรูปร่างลักษณะของเฟอร์นิเจอร์ว่ามีลักษณะอย่างไร ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทดังนี้

1. เฟอร์นิเจอร์ประเภทตู้ (BOX-TYPE FURNITURE) เฟอร์นิเจอร์ประเภทนี้ทำหน้าที่เป็นที่เก็บภาชนะสิ่งของต่าง ๆ และรับน้ำหนักของภาชนะและสิ่งของที่เก็บโดยตรง สนองความต้องการของผู้ใช้เฟอร์นิเจอร์ทั้งทางด้านประโยชน์ใช้สอยและเพื่อการ ตกแต่งภายในและภายนอกอาคาร บ้านพักอาศัย เฟอร์นิเจอร์ประเภทนี้ได้แก่ ตู้เตี้ย ตู้สูง ตู้เสื้อผ้า ชั้นวางของ ตู้ห้องครัว ตู้ลอย เป็นต้น)
2. เฟอร์นิเจอร์ประเภทขา (LEGS-TYPE FURNITURE) เฟอร์นิเจอร์ประเภทนี้ทำหน้าที่รับน้ำหนักของคนโดยตรง และส่วนรองลงไปก็คืออุปกรณ์และสิ่งของต่างๆ โดยมีขาของเฟอร์นิเจอร์รองรับน้ำหนักทั้งหมดและถ่ายน้ำหนักลงมาที่พื้นห้อง เฟอร์นิเจอร์ประเภทนี้ได้แก่ เก้าอี้นั่งทำงาน เก้าอี้นั่งพักผ่อน เก้าอี้รับประทานอาหาร โต๊ะทำงาน โต๊ะอ่านหนังสือ เป็นต้น
3. เฟอร์นิเจอร์ประเภทบุ (UPHOLSTERY-TYPE FURNITURE) เฟอร์นิเจอร์ประเภทนี้ผลิตจากวัสดุภายในที่เป็นไม้ หรือโลหะประกอบเป็นโครงสร้าง และหุ้มด้วยฟองน้ำ โฟมยาง โฟมวิทยาศาสตร์แล้วปิดทับผ้าหรือหนังชนิดต่าง ๆ ตัวอย่างเฟอร์นิเจอร์ประเภทนี้ได้แก่ เก้าอี้รับแขก สตูลนั่งแต่งตัว เก้าอี้สำนักงาน ส่วนประกอบของเก้าอี้ที่เป็นที่นั่งและพนักพิง เป็นต้น
4. เฟอร์นิเจอร์ประเภทที่ขึ้นรูปด้วยแม่แบบ (MOLDED-TYPE FURNITURE) ในอดีตเฟอร์นิเจอร์ประเภทนี้ใช้ไม้อัด หรือไม้บางอัดกับแม่แบบเป็นรูปร่างตามแบบโดยใช้ความร้อนและกาวช่วยในการดัด แต่ในปัจจุบันเป็นเฟอร์นิเจอร์จำพวกที่เป็นพลาสติกอัดขึ้นรูปตามแม่แบบ การผลิตเฟอร์นิเจอร์ในระบบนี้มีต้นทุนสูง เมื่อผลิตจำนวนน้อยชิ้นจะไม่คุ้มกับการลงทุน จำเป็นต้องผลิตจำนวนมากจึงทำให้ต้นทุกต่อหน่วยต่ำลงมาก เฟอร์นิเจอร์ประเภทนี้ได้แก่ เก้าอี้พลาสติก เก้าอี้อาบแดดบริเวณสระว่ายน้ำ เป็นต้น

Cradit:  http://nopsakon-net.blogspot.com/2007/03/1.html

Read more

การแบ่งลักษณะของเฟอร์นิเจอร์ตามสถานที่ใช้งาน

การแบ่งลักษณะของเฟอร์นิเจอร์ตามสถานที่ใช้งาน 
การแบ่งตามลักษณะสถานที่ใช้งาน โดยจะใช้เกณฑ์พิจารณาว่าเฟอร์นิเจอร์ชิ้นนั้นไปตั้งอยู่ที่ใด ห้องหรืออาคารประเภทใดสามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้ คือ

1. เฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ในบ้านพักอาศัย เป็นเฟอร์นิเจอร์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในห้องต่างภายในบ้านพักอาศัย ซึ่งส่วนใหญ่ของเฟอร์นิเจอร์ในปัจจุบันเป็นประเภทนี้ ซึ่งสามารถแยกย่อยตามห้องต่าง ๆ ภายในบ้านพักอาศัยได้ดังต่อไปนี้ คือ
1.1 ห้องนอน (BED ROOM)
ซึ่งในชีวิตของมนุษย์เรานี้ 1 ใน 3 ของเวลาทั้งหมด จะใช้เวลาเกี่ยวกับการนอนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีเฟอร์นิเจอร์ภายในห้องดังต่อไปนี้
-เตียงนอน (BED) -ตู้เสื้อผ้า (WARDROBES) -โต๊ะหัวเตียง (NIGHT TABLE) -ตู้ (CLOSETS) -โต๊ะแต่งตัว (DRESSING TABLE) -เก้าอี้สำหรับแต่งตัว (STOOL OR SMALL CHAIR)
1.2 ห้องพักผ่อน (LIVING ROOM)
เป็นเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ในส่วนรวมของบ้านพักอาศัย คือสมาชิกภายในครอบครัวได้ใช้กัน รวมถึงเป็นหน้าตาเพื่อรับแขกที่มาเยี่ยมเยือนดังนั้นเฟอร์นิเจอร์ภายในห้อง นี้บางครั้งสะท้อนความเป็นภาพลักษณ์ของเจ้าของบ้าน ซึ่งมีเฟอร์นิเจอร์ภายในห้องดังต่อไปนี้
-เก้าอี้ยาว (SOFAS) -เก้าอี้เท้าแขน (ARM CHAIRS) -โต๊ะกลาง (COFFEE TABLE) -โต๊ะข้าง (SIDE TABLE) -เก้าอี้พักผ่อน (EASY CHAIR) -ตู้ข้าง (CABINETS) -เก้าอี้โยก (ROCKIING CHAIRS)
1.3 ห้องรับประทานอาหาร (DINING ROOM)
เป็นเฟอร์นิเจอร์ที่วางไว้ภายในห้องรับประทานอาหาร ซึ่งมีเฟอร์นิเจอร์ภายในห้องดังต่อไปนี้
-โต๊ะอาหาร (DINING TABLES) -เก้าอี้รับประทานอาหาร (DINING CHAIRS) -โต๊ะเตรียมเสิร์ฟอาหาร (SERVING TABLES) -ตู้ใส่ถ้วยชาม (CUPBOARD) -โต๊ะเลื่อน (SERVING WAGONS) -เก้าอี้ทรงสูง (HIGH CHAIRS)
1.4 ห้องครัว (KITCHEN ROOM)
เป็นเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ในห้องครัว หรือห้องเตรียมอาหาร เฟอร์นิเจอร์ประเภทนี้ค่อนข้างแข็งแรง ทนความชื้น ทำความสะอาดและดูแลรักษาง่าย ซึ่งมีเฟอร์นิเจอร์ภายในห้องดังต่อไปนี้
-ตู้เก็บของ (STORAGE CABINETS) บนตู้เก็บของอาจจะมี อ่างล้างจาน (SINKS) เตาหุงต้ม (RANGES) และมีช่องว่างสำหรับวางตู้เย็น (REFRIGERATORS) -โต๊ะเตรียมอาหาร (CATERING TABLES) -ตู้เก็บถ้วยชาม (CUPBOARD) -ตู้ลอย หรือชั้นลอย (HANGING & SHELVES) -ที่เตรียมอาหาร (DISPOSERS)

cradit: http://nopsakon-net.blogspot.com/2007/03/1.html

Read more

การแบ่งประเภทของเฟอร์นิเจอร์ออกตามลักษณะต่าง ๆ

 
 ประเภทของเฟอร์นิเจอร์(Cradit: http://nopsakon-net.blogspot.com/2007/03/1.html)

การแบ่งประเภทของเฟอร์นิเจอร์ สามารถที่จะแบ่งประเภทของเฟอร์นิเจอร์ออกตามลักษณะต่าง ๆ ได้ดังต่อไปนี้ แบ่งตามลักษณะการติดตั้ง การแบ่งประเภทของเฟอร์นิเจอร์ตามลักษณะการติดตั้ง จะใช้เกณฑ์การพิจารณาในด้านการติดตั้งเฟอร์นิเจอร์ว่า มีการติดตั้งแบบถาวรไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้หรือเป็นวางตั้งธรรมดาและสามารถ เคลื่อนย้ายได้ ซึ่งสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภทดังนี้

1. เฟอร์นิเจอร์ประเภทติดประกอบกับตัวอาคาร (BLUIT IN FURNITURE)
เป็นเฟอร์นิเจอร์ที่ติดอยู่กับอาคาร หรือเป็นเฟอร์นิเจอร์ที่ขนเคลื่อนย้ายไม่ได้ เช่น ตู้ติดผนัง หากมีการเคลื่อนย้ายอาจจะทำให้เฟอร์นิเจอร์มีการเสียหายได้ ข้อดี -ระบบโครงสร้างของเฟอร์นิเจอร์แข็งแรง เฟอร์นิเจอร์ประเภทนี้เป็นประเภทที่มีโครงสร้างต่อเนื่องกันเป็นช่องว่าง (UNIT) ใหญ่ ฉะนั้นจะต้องมีชิ้นส่วนของโครงสร้างมากขึ้น ทำให้เกิดระบบโครงสร้างที่มั่นคงและอีกประการหนึ่ง บางส่วนของโครงสร้างมีความจำเป็นต้องยึดติดกับอาคาร ฉะนั้นย่อมจะให้ความแข็งแรงมากขึ้นกว่าปกติ -มีขนาดสัมพันธ์กับเนื้อที่จัดวาง เพราะเฟอร์นิเจอร์ประเภทนี้เมื่อมีการออกแบบจำเป็นต้องมีการวัดขนาดบริเวณ ติดตั้งเพื่อให้ได้ขนาดเฟอร์นิเจอร์สัมพันธ์กันพอดีและติดตั้งแล้วจะพอดีกับ ช่องว่างหรือพื้นที่ที่ติดตั้ง -ออกแบบด้านรูปทรงได้กว้างขวาง ในด้านรูปทรง (FROM) และในด้านการออกแบบ(DESIGN) ที่ได้อิสระมาก สามารถทำได้หลายรูปแบบ (STYLE) เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์กับห้อง ๆ นั้นกับอาคารหลังนั้น ด้านขนาดความกว้าง ยาวต่าง ๆ ไม่มีขอบเขตจำกัดมาก ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะของอขงที่จะติดตั้งเป็นเกณฑ์ แต่ถ้าเป็นเฟอร์นิเจอร์ประเภทลอยตัว ต้องคำนึงถึงความกว้าง ความยาวและความสูงจะต้องมีความสัมพันธ์กันมาก มิฉะนั้นจะเกิดปัญหาการทรงตัวไม่ดี อาจล้มได้ง่าย -เก็บสิ่งของสัมภาระได้มากเพราะว่า เฟอร์นิเจอร์ประเภทนี้ได้รับการออกแบบและจัดวางมาโดยตรง ว่าจะให้มีหน้าที่เก็บของสัมภาระอะไร มีขนาดและปริมาณเท่าไรจึงสามารถเก็บสัมภาระได้มาก และตามซอกตามมุมต่างๆ ก็ยังสามารถดัดแปลงให้เก็บสิ่งของได้ ฉะนั้นเนื้อที่ที่จะสูญเสียไม่มีเลย แต่ถ้าเป็นเฟอร์นิเจอร์แบบลอยตัวแล้วจะถูกจำกัดด้วยขนาด (เพราะขนาดของประตู ช่องทางเดิน และลักษณะการขนส่งบังคับ)ฉะนั้นการวางสัมภาระบางอย่างอาจวางได้น้อยชิ้น หรือวางสัมภาระหรือสิ่งของบางอย่างอาจไม่ได้เพราะมีขนาดใหญ่ไปไม่เหมาะสม เป็นต้น -สะดวกในการจัดวางในตำแหน่งต่าง ๆ ของตัวบ้าน เฟอร์นิเจอร์ประเภทนี้สามารถจัดวางได้ทุกตำแหน่งของอาคาร เช่น ตั้งกับพื้นชิดกับผนัง แขวนหรือติดตั้งกับเพดานก็ได้ ซึ่งมีความแตกต่างกับเฟอร์นิเจอร์ประเภทลอยตัวซึ่งนิยมวางตั้งบนพื้นเท่า นั้น -ประหยัดวัสดุ เพราะโครงสร้างของเฟอร์นิเจอร์บางส่วนอาจอาศัยโครงสร้างของตัวอาคาร เช่น พื้น ผนัง เพดาน หรือเสา เป็นส่วนประกอบ ฉะนั้นทำให้ลดวัสดุลงไปได้บ้าง แต่ถ้าคิดราคาเปรียบเทียบกับเฟอร์นิเจอร์ประเภทลอยตัวแล้ว ยังคงแพงกว่า เพราะมีค่าแรงในการผลิตสูงกว่า ข้อเสีย -เคลื่อนย้ายลำบาก เพราะเฟอร์นิเจอร์ประเภทนี้เป็นการติดตั้งถาวร และอาศัยโครงสร้างของอาคารประกอบด้วย หรือเพียงบางส่วนอาจเคลื่อนย้ายได้ แต่มีขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก -ไม่เหมาะกับอาคารชั่วคราว เพราะเกิดปัญหาการขนย้าย และเกิดปัญหาการถอดรื้อถอน ฉะนั้นคิดว่าอาคารหรือบ้านที่ใช้อยู่นั้นจะต้องมีการรื้อถอน เปลี่ยนแปลงแก้ไข ก็ไม่ควรใช้เฟอร์นิเจอร์ประเภทนี้เพราะจะรื้อถอดลำบาก และเกิดการชำรุดง่าย -ราคาการผลิตสูง เพราะเฟอร์นิเจอร์ประเภทนี้ต้องใช้เครื่องมือและแรงงานมากในการผลิต การผลิตต้องมาผลิต ณ ที่ตั้งของเฟอร์นิเจอร์ชิ้นนั้นจึงทำให้ราคาการผลิตสูง -ซ่อมแซมลำบาก เพราะว่าชิ้นส่วนต่างๆ ของเฟอร์นิเจอร์ประเภทนี้สลับซับซ้อน จำนวนชิ้นส่วนมาก การซ่อมแซมจะต้องมาซ่อมแซมที่ตั้ง บางครั้งทำใหม่อาจจะมีราคาถูกกว่าซ่อมแซม -แก้ไขแปลนและรูปแบบลำบาก ฉะนั้นการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ประเภทนี้ จะต้องคำนึงถึงระยะเวลาในการใช้ให้มาก เพราะถ้าเกิดความเบื่อหน่ายทางด้านรูปแบบหรือการจัดวาง จะแก้ไขได้ลำบากมาก
2. เฟอร์นิเจอร์ประเภทลอยตัว (FREE STANDING FURNITURE) 
เป็นเฟอร์นิเจอร์ที่ทำสำเร็จจากโรงงาน ผ่านกระบวนการผลิตในระบบอุตสาหกรรม เฟอร์นิเจอร์ประเภทนี้สามารถเคลื่อนย้ายได้ตามความต้องการ
ข้อดี
-ราคา ถูก เพราะเฟอร์นิเจอร์ประเภทนี้มีการผลิตในระบบอุตสาหกรรม ผลิตจำนวนมาก ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยของเฟอร์นิเจอร์ประเภทนี้มีราคาถูกกว่าเมื่อเปรียบเทียบ กับเฟอร์นิเจอร์ประเภทติดประกอบกับตัวอาคาร -ซ่อมบำรุงรักษาง่าย เพราะเฟอร์นิเจอร์ประเภทนี้ ชิ้นส่วนบางชิ้นเป็นชิ้นส่วนมาตรฐาน สามารถหามาทดแทนกันได้ -เคลื่อนย้ายได้ เฟอร์นิเจอร์ประเภทนี้สามารถเคลื่อนย้ายนำไปจัดวางตามสถานที่ต่างๆ ได้โดยไม่มีการชำรุดเสียหายในระหว่างการขนย้าย เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดวาง ก็สามารถเคลื่อนย้ายไปจัดวางที่แห่งใหม่ได้ง่าย
ข้อเสีย
-ไม่มีขนาดสัมพันธ์กับเนื้อที่จัดวางเพราะเฟอร์นิเจอร์ประเภทนี้เมื่อได้รับ การออกแบบและผลิตจากโรงงานแล้วเป็นแบบมาตรฐาน บางครั้งอาจจะทำให้ไม่สามารถเข้าในพื้นที่หรือช่องว่างของห้องที่ผู้ซื้อไป ได้ลงตัว
-ระบบโครงสร้างของเฟอร์นิเจอร์ประเภทนี้จะอาศัยรับน้ำหนัก ถ่ายแรงด้วยโครงสร้างของตัวมันเองเท่านั้น จึงมีความแข็งแรงอยู่ภายใต้ขีดจำกัด


Read more

ประเภทของกันสาด


 

อากาศค่อนข้างแปรปรวนบ่อยทั้งแดด ทั้งฝนที่ตกกระหน่ำ ลองหากันสาดสวยๆ ดีไซน์หรูๆ มาติดบ้านดู เผื่อป้องกันแสงแดดที่ร้อนระอุ และสายฝนที่จะกระหน่ำบ้านคุณดู ก็คงจะช่วยให้บ้านน่าดูขึ้นอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว
บ้านที่ปล่อยให้แดดจัดๆส่องเข้าบ้านตรงๆเต็มๆ ความร้อนจะสะสมในบ้าน ทำให้พัดลมและเครื่องปรับอากาศต้องทำงานหนัก การใช้ไฟฟ้าก็มากขึ้นด้วย ค่าใช้จ่ายก็จะตามมา กันสาดจึงเป็นเครื่องมือที่ดีช่วยบังแดดไม่ให้ส่องผ่านเข้ามาในบ้านได้ ควรติดกันสาดทางทิศตะวันตกและทิศใต้เช่นเดียวกับการปลูกต้นไม้ เพื่อให้ช่วยบังแดด
การติดตั้งกันสาดหรือแผงกันแดดที่ดีนั้นต้องเป็นกันสาดที่กันแสงแดดไม่ให้ส่องผ่านเข้ามาในบ้านได้เกือบทั้งหมด แต่ก็มีกัดสาดอีกรูปแบบหนึ่งที่แสงสามารถส่องผ่านเข้ามาได้ ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละบุคคลว่าจะชอบแบบไม่ให้มีแสงลอดหรือมีแสงลอดมาได้ แต่ข้อสำคัญก็อย่าติดมากถึงกับทำให้ภายในบ้านมืดจนต้องเปิดดวงไฟแสงสว่างในเวลากลางวัน เพราะแทนที่จะเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่าย กลับจะกลายเป็นเพิ่มค่าใช้จ่ายให้คุณอีกก็เป็นได้
กันสาดหรือแผงกันแดดประเภทที่เอามาติดเข้าที่ตัวบ้านในภายหลัง โดยมากมักจะต้องเป็นกันสาดหรือแผงกันแดดที่มีน้ำหนักเบา ๆ ยื่นยาวอกกมาได้ไม่มากนัก เนื่องจากไม่ได้มีการ
เตรียมโครงสร้างของบ้านไว้รองรับ เช่น พวกกันสาดอลูมิเนียม ไฟเบอร์กลาส ไปจนถึงระแนงไม้ และผ้าใบ พวกนี้ต้องมีการบำรุงรักษาและเปลี่ยนวัสดุบ้าง จะให้ดีควรต้องปรึกษาผู้รู้ก่อนติดตั้ง เพื่อป้องกันปัญหากับโครงสร้าง
ของตัวบ้าน ซึ่งก็จะมีอยู่ 2 ประเภทนั่นก็คือ 
 แบบใช้งานถาวร  แผ่นกันแดดแบบนี้มีอายุการใช้งานยาวนาน คงทนถาวร ใช้ค่าก่อสร้างสูง แต่เสียค่าบำรุงรักษาและซ่อมแซมน้อย จึงคุ้มค่ากว่าเมื่อเปรียบเทียบกับระยะเวลาใช้งาน แบ่งออกได้เป็น
   - คอนกรีตเสริมเหล็ก
   - โลหะประเภทอลูมิเนียม หรือเหล็กอลูมิเนียม
  
- โพลีกลาสและไฟเบอร์กลาส
   - ผ้าใบ ใช้ในลักษณะเช่นเดียวกับไม้ไผ่ หรือเป็นโครงเหล็ก
 ส่วนวิธีการติดตั้งกันสาดนั้น หลักๆ ก็จะมีอยู่สามรูปแบบก็คือ
กันสาดแนวราบ เหมาะสำหรับหน้าต่างด้านทิศเหนือและทิศใต้ ซึ่งการ ติดตั้งที่จะทำให้กันสาดทำหน้าที่ของตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ มากที่สุดก็คือ ด้านทิศเหนือ กันสาดควรมีระยะยื่นทำมุมอย่างน้อย 10 องศากับขอบล่างของหน้าต่าง ด้านใต้ให้ทำมุมอย่างน้อย 37 องศากับขอบ
กันสาดแนวดิ่ง เหมาะสำหรับด้านตะวันออกและตะวันตก เพราะสามารถบังแสง อาทิตย์ในช่วงเช้าและเย็นได้ดี แต่การออกแบบกันสาดแนวดิ่ง เพื่อบังแดดในทุกช่วง เวลาคงทำได้ยาก นั่นเพราะ ตำแหน่งของดวงอาทิตย์ในบ้านเรา ที่เวลาต่างๆ ในแนว ทิศตะวันออก และตะวันตก จะมีการเบี่ยงเบนมาก ฉะนั้นการออกแบบที่เหมาะสมก็โดย ทำมุมประมาณ 30 องศากับระนาบผนัง
กันสาดเป็นอุปกรณ์บังแสงแดดให้กับหน้าต่างซึ่งสามารถช่วยลดปริมาณความร้อนจากแสงอาทิตย์ ไม่ให้เข้าสู่อาคารและตัวบ้านได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพมากขึ้นก่อนอื่นควรเลือกใช้ให้ถูกต้องด้วย
 1. หน้าต่างที่อยู่ทางทิศเหนือและใต้ควรใช้กันสาดในแนวราบ จะบังแดดช่วงเที่ยงจนถึงบ่ายได้ดี
2. กันสาดแนวดิ่ง จะช่วยบังแดดช่วงเช้าและเย็น เหมาะสำหรับหน้าต่างที่อยู่ทางทิศตะวันออกแลทิศ    ตะวันตก
3. กันสาดแบบผสม เป็นการนำเอาคุณสมบัติที่ดีของทั้งแนวราบ และแนวดิ่งมารวมกัน ทำให้สามารถป้องกันแสงแดดได้ตลอดวัน
4. กันสาดแบบที่นำมาติดกับตัวบ้านภายหลังควรเลือกใช้กันสาดที่มีน้ำหนักเบา เช่น ไฟเบอร์กลาส ระแนงไม้ หรือผ้าใบ เพื่อป้องกันการเกิดปัญหากับโครงสร้างของตัวบ้าน
ถ้าให้ดีก็อย่าติดกันสาดมากจนเกินไป จนถึงขนาดทำให้ในบ้านมืด เพราะแทนที่จะช่วยประหยัดพลังงานทำให้บ้านเย็น กลับต้องมาเสียค่าไฟเพิ่มในการให้แสงสว่างแทน
 

กันสาดโพลิคาร์บอเนต
คุณสมบัติและประโยชน์ของกันสาด Poly Carbonate
1.   มีความสวยงามกว่ากันสาดชนิดอื่น จึงสามารถติดตั้งได้กับบ้าน และอาคารได้ทุกแบบ
2.   ป้องกันแสง UV ได้ 100%
3.   น้ำหนักเบา จึงทำให้ประหยัดโครงสร้างไม่ต้องยุ่งยากเรื่องคอนกรีต และเสาเข็ม
4.   สามารถดัดโค้งได้ 360 ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 ทำให้สามารถออกแบบได้หลากหลายรูปแบบ
5.   ตัววัสดุ Poly Carbonate มีความทนทานต่อทุกสภาพอากาศ และรับประกันนานถึง 10 ปี
6.   ไม่ทำให้เกิดเสียงดัง ขณะฝนตก เนื่องจากตัววัสดุ Poly Carbonate มีลักษณะเป็นผนัง 2 ชั้น (Twin Wall) จึงทำให้ช่วยลดเสียงขณะทั้งฝนกระทบหลังคา กันสาดได้อย่างมาก
7.   มีสีให้เลือกมากกว่า 9 สี
 
ชนิดไม่มีแถบสี
1.  สีใส (clear)
2.  สีชา (Bronze)
3.  สีฟ้า (Greenish Blue)
4.  สีน้ำเงิน (Blue)
5.  สีชาเข้ม (Greenish Blue)
6.  สีขาวขุ่น (Opal White)

ชนิดมีแถบสี
1.  สีฟ้า
2.  สีใส
3.  สีชา


 
cradit: http://www.engineerthai.com/roof.htm
http://www.banbangkok.com/index.php?PHPSESSID=ae24eaf4b7becfdb9e3a08c52f168595&topic=776.0



 

Read more

Lor separat

jdjukrkkr

Video

Followers